Overhead clearance หมายถึงพื้นที่หรือระยะระหว่างหลังคาลิฟต์กับพื้นใต้ห้องเครื่องลิฟต์หรือพื้นหลังคาอาคาร เมื่อลิฟต์จอดอยู่ชั้นบนสุดของอาคาร โดยปกติหลังคาลิฟต์มีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชุดขับประตู อุปกรณ์ระบายอากาศสำหรับห้องโดยสาร อุปกรณ์แสงสว่าง โครงสร้างส่วนบนของลิฟต์ เป็นต้น เพราะฉะนั้นพื้นที่นี้ต้องมีมากพอ
Overhead clearance มีผลต่อการออกแบบอาคารพอสมควรที่ต้องการติดตั้งระบบลิฟต์ในอาคาร ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. Overhead clearance ต้องมีพื้นที่เพียงพอ สำหรับช่างบำรุงรักษายืนบนหลังคาลิฟต์เพื่อดูแลระบบและอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างสะดวก
2. Overhead clearance ต้องมีพื้นที่เพียงพอ สำหรับความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยหรือลิฟต์ขัดข้องไม่จอดเมื่อถึงชั้นบนสุด เราสามารถอธิบายความต้องการระยะ Overhead clearance ดังนี้
a. เมื่อลิฟต์ไม่จอดเมื่อถึงชั้นบนสุด : โครงลูกถ่วงซึ่งอยู่ปลายสลิงอีกด้านของตู้ลิฟต์วิ่งลงก้นบ่อลิฟต์สัมผัสกับ อุปกรณ์ Buffer โดยทั่วไปเราเรียกระยะนี้ว่า “ค่า Run by ซึ่งมีค่า 200 –
b. เมื่อโครงลูกถ่วงสัมผัสกับอุปกรณ์ Buffer ด้วยความเร็วและน้ำหนักของมวลลูกถ่วงทั้งหมดจะทำให้ อุปกรณ์ Buffer ยุบตัว ตามมาตรฐานกำหนดการยุบตัวไว้ที่
c. จากเหตุการณ์ a และ เหตุการณ์ b จะทำให้ลิฟต์วิ่งเลยชั้นจอด 400 – 500 มม แต่ด้วย น้ำหนัก และ ความเร็วของตู้ลิฟต์ ทำให้เกิด ความเฉื่อย ( Moment inertia ) และตู้ลิฟต์กระโดด ( Jump up ) มากหรือ น้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และ ความเร็วของตู้ลิฟต์ ซึ่งตามมาตรฐานได้กำหนดไม่น้อยกว่า
เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ Overhead clearance ควรมีระยะไม่น้อยกว่า 1,000 มมจากอุปกรณ์ที่สูงที่สุดที่ติดตั้งบนหลังคาลิฟต์
ในปัจจุบัน ผู้ผลิตลิฟต์ต่างๆได้พยายามคิดค้นและผลิต ระบบลิฟต์ที่มีค่า Overhead traveling ให้ต่ำที่สุดเพื่อให้ผู้ออกแบบอาคารใช้พื้นที่ของอาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ก็ไม่ควรละเลยความปลอดภัยของผู้พักอาศัยในอาคารนั้นๆ เป็นสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น